บุคคลที่ชื่นชอบ
ชื่อ อภิรักษ์ โกษะโยธิน
ประวัติ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2504[2] ที่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จึงทำให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดในยุคกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. 2500) นายอภิรักษ์มีชื่อเล่นว่า "ต้อม" เป็นบุตรคนโตของ นายบุญลักษณ์ โกษะโยธิน และ นางอมรา โกษะโยธิน (สกุลเดิม จามรมาน) มีน้องสาว 1 คนคือ อภิสรา โกษะโยธิน (ทำงานที่ ธนาคารนครหลวงไทย)
ชื่อ อภิรักษ์ โกษะโยธิน
ประวัติ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2504[2] ที่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จึงทำให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดในยุคกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. 2500) นายอภิรักษ์มีชื่อเล่นว่า "ต้อม" เป็นบุตรคนโตของ นายบุญลักษณ์ โกษะโยธิน และ นางอมรา โกษะโยธิน (สกุลเดิม จามรมาน) มีน้องสาว 1 คนคือ อภิสรา โกษะโยธิน (ทำงานที่ ธนาคารนครหลวงไทย)
นายอภิรักษ์เริ่มเข้าเรียนครั้งแรก ที่โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี
มัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
มัธยมศึกษาตอนปลาย : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ปริญญาตรี :
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เมื่อจบปี 1 ผลการเรียนไม่ดีและถูกภาคทัณฑ์ (ติดโปรฯ) จึงต้องออกมาสอบเอ็นทรานซ์ใหม่)
วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2526 (รุ่นเดียวกับ นายยงยุทธ ติยะไพรัช)
ปริญญาโท : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า (การจัดการการตลาด)
นายอภิรักษ์ สมรสกับ นางปฏิมา โกษะโยธิน (สกุลเดิม พงศ์พฤกษทล) มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือ อนรรฆ โกษะโยธิน (พี)
นายอภิรักษ์มีฉายาจากสื่อมวลชนว่า "หล่อเล็ก" คู่กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีฉายาว่า "หล่อใหญ่" และต่อมามีนักการเมืองพรรคเดียวกันได้รับฉายาทำนองนี้อีกเช่น นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคที่ได้รับฉายา "หล่อโย่ง" และ ม.ล.อภิมงคล โสณกุล รองโฆษกพรรคที่มีฉายาว่า "หล่อจิ๋ว"
การทำงาน
นายอภิรักษ์เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจหลายแห่ง ก่อนที่จะเข้าสู่วงการเมือง เริ่มจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนาม พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 การลงคะแนนเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติเป็นเอกฉันท์ ประกาศให้ นายอภิรักษ์ เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2547 หลังได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อมานายอภิรักษ์ได้รับเลือกตั้งให้เป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548
ขณะออกรายการ ตอบโจทย์ ทางไทยพีบีเอสชี้แจงถึงการยุติการทำหน้าที่ผู้ว่าฯ
ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551 นายอภิรักษ์ได้ยุติการทำหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชั่วคราว พร้อมกับได้ตั้ง ดร.วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ รักษาการแทน เนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) แจ้งข้อกล่าวหาว่ามีความผิดกรณีซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ทั้ง ๆ ที่เป็นเพียงการแจ้งข้อกล่าวหาเท่านั้น ยังไม่ได้เป็นการชี้มูลความผิดหรือส่งเรื่องขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลแล้ว[3] และในวันที่ 12 เมษายน ปีเดียวกัน ได้กลับมาทำงานอีกครั้งเนื่องจากครบวาระการพักงาน โดยเริ่มงานแรกคือ การสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ที่ท้องสนามหลวง เนื่องในงานเทศกาลสงกรานต์ของกรุงเทพมหานคร
ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง หลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) มีมติเอกฉันท์ชี้มูลความผิดในคดีนี้ นายอภิรักษ์ได้แถลงข่าวลาออกจากตำแหน่งในเวลา 15.30 น. ทั้ง ๆ ที่กฎหมายมิได้มีผลบังคับให้ต้องทำถึงขนาดนั้น แต่นายอภิรักษ์ระบุว่าต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่การเมืองไทย ทั้งนี้ให้มีผลในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสร็จสิ้น[1]
ปี 2526-2527 : ผู้ช่วยผู้จัดการร้านฝึกหัด (Management Trainee) บริษัท พิซซ่าฮัท ไทยแลนด์ จำกัด[4]
ปี 2528-2530 : Account Executive บริษัท Lintas Worldwide มีลูกค้าหลักคือ ลีเวอร์ บราเธอร์ส
ปี 2530-2532 : Account Director บุกเบิกก่อตั้ง บริษัท ดามาร์กส์ แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด (Damask Advertising)
ปี 2532-2537 : ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ จากนั้นขึ้นเป็นผู้อำนวยการขายและการตลาดของเป๊ปซี่ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปี 2537-2543 : กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟริโต-เลย์ ไทยแลนด์
ปี 2543-2545 : กรรมการผู้จัดการ CEO บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
ปี 2545-2547 :
กรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม หรือ Co-CEO บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด (คู่กับ นายศุภชัย เจียรวนนท์)
ประธานกลุ่มการตลาดและบริหารงานสื่อ กลุ่มบริษัทในเครือเทเลคอมเอเชีย จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือ ทรู คอร์ปอเรชั่น)
กรรมการ บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
กรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
ปี 2547 : ลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในโทรศัพท์มือถือเครือข่าย ออเร้นจ์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ทรูมูฟ) เพื่อลงสมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 911,441 เสียง
ปี 2548 : รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี 2551 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่ 2 ด้วยคะแนนเสียง 991,018 คะแนน คิดเป็น 45.93 %
[แก้] การดำรงตำแหน่งอื่นๆ
อดีตประธานนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ. 2527- พ.ศ. 2528)
อดีตกรรมการศูนย์ฟื้นฟูรักษาสิ่งแวดล้อมในเมือง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2534)
อดีตกรรมการสมาคมศิษย์เก่า คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536)
อดีตกรรมการที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการอำนวยการ การส่งเสริมการประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542)
อดีตประธานกลุ่มบริหารการตลาด และกรรมการอำนวยการ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545)
อดีตกรรมการองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2546)
อาจารย์พิเศษ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
กรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่ปรึกษา สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์
เกียรติประวัติ
ศิษย์เก่าดีเด่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปี พ.ศ. 2542
ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2543
มัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
มัธยมศึกษาตอนปลาย : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ปริญญาตรี :
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เมื่อจบปี 1 ผลการเรียนไม่ดีและถูกภาคทัณฑ์ (ติดโปรฯ) จึงต้องออกมาสอบเอ็นทรานซ์ใหม่)
วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2526 (รุ่นเดียวกับ นายยงยุทธ ติยะไพรัช)
ปริญญาโท : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า (การจัดการการตลาด)
นายอภิรักษ์ สมรสกับ นางปฏิมา โกษะโยธิน (สกุลเดิม พงศ์พฤกษทล) มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือ อนรรฆ โกษะโยธิน (พี)
นายอภิรักษ์มีฉายาจากสื่อมวลชนว่า "หล่อเล็ก" คู่กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีฉายาว่า "หล่อใหญ่" และต่อมามีนักการเมืองพรรคเดียวกันได้รับฉายาทำนองนี้อีกเช่น นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคที่ได้รับฉายา "หล่อโย่ง" และ ม.ล.อภิมงคล โสณกุล รองโฆษกพรรคที่มีฉายาว่า "หล่อจิ๋ว"
การทำงาน
นายอภิรักษ์เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจหลายแห่ง ก่อนที่จะเข้าสู่วงการเมือง เริ่มจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนาม พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 การลงคะแนนเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติเป็นเอกฉันท์ ประกาศให้ นายอภิรักษ์ เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2547 หลังได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อมานายอภิรักษ์ได้รับเลือกตั้งให้เป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548
ขณะออกรายการ ตอบโจทย์ ทางไทยพีบีเอสชี้แจงถึงการยุติการทำหน้าที่ผู้ว่าฯ
ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551 นายอภิรักษ์ได้ยุติการทำหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชั่วคราว พร้อมกับได้ตั้ง ดร.วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ รักษาการแทน เนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) แจ้งข้อกล่าวหาว่ามีความผิดกรณีซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ทั้ง ๆ ที่เป็นเพียงการแจ้งข้อกล่าวหาเท่านั้น ยังไม่ได้เป็นการชี้มูลความผิดหรือส่งเรื่องขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลแล้ว[3] และในวันที่ 12 เมษายน ปีเดียวกัน ได้กลับมาทำงานอีกครั้งเนื่องจากครบวาระการพักงาน โดยเริ่มงานแรกคือ การสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ที่ท้องสนามหลวง เนื่องในงานเทศกาลสงกรานต์ของกรุงเทพมหานคร
ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง หลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) มีมติเอกฉันท์ชี้มูลความผิดในคดีนี้ นายอภิรักษ์ได้แถลงข่าวลาออกจากตำแหน่งในเวลา 15.30 น. ทั้ง ๆ ที่กฎหมายมิได้มีผลบังคับให้ต้องทำถึงขนาดนั้น แต่นายอภิรักษ์ระบุว่าต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่การเมืองไทย ทั้งนี้ให้มีผลในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสร็จสิ้น[1]
ปี 2526-2527 : ผู้ช่วยผู้จัดการร้านฝึกหัด (Management Trainee) บริษัท พิซซ่าฮัท ไทยแลนด์ จำกัด[4]
ปี 2528-2530 : Account Executive บริษัท Lintas Worldwide มีลูกค้าหลักคือ ลีเวอร์ บราเธอร์ส
ปี 2530-2532 : Account Director บุกเบิกก่อตั้ง บริษัท ดามาร์กส์ แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด (Damask Advertising)
ปี 2532-2537 : ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ จากนั้นขึ้นเป็นผู้อำนวยการขายและการตลาดของเป๊ปซี่ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปี 2537-2543 : กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟริโต-เลย์ ไทยแลนด์
ปี 2543-2545 : กรรมการผู้จัดการ CEO บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
ปี 2545-2547 :
กรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม หรือ Co-CEO บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด (คู่กับ นายศุภชัย เจียรวนนท์)
ประธานกลุ่มการตลาดและบริหารงานสื่อ กลุ่มบริษัทในเครือเทเลคอมเอเชีย จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือ ทรู คอร์ปอเรชั่น)
กรรมการ บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
กรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
ปี 2547 : ลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในโทรศัพท์มือถือเครือข่าย ออเร้นจ์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ทรูมูฟ) เพื่อลงสมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 911,441 เสียง
ปี 2548 : รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี 2551 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่ 2 ด้วยคะแนนเสียง 991,018 คะแนน คิดเป็น 45.93 %
[แก้] การดำรงตำแหน่งอื่นๆ
อดีตประธานนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ. 2527- พ.ศ. 2528)
อดีตกรรมการศูนย์ฟื้นฟูรักษาสิ่งแวดล้อมในเมือง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2534)
อดีตกรรมการสมาคมศิษย์เก่า คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536)
อดีตกรรมการที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการอำนวยการ การส่งเสริมการประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542)
อดีตประธานกลุ่มบริหารการตลาด และกรรมการอำนวยการ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545)
อดีตกรรมการองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2546)
อาจารย์พิเศษ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
กรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่ปรึกษา สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์
เกียรติประวัติ
ศิษย์เก่าดีเด่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปี พ.ศ. 2542
ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2543
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น