วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

เรื่อง ขอให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมทุกคน
จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไรให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป แสดงความคิดเห็นให้ก่อนสอบจะเป็นคะแนนช่วยเพิ่มเติ่ม
จุดเด่น
1. ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ และผู้เรียนยังมีความสนใจในการเรียนการสอน
2. สามารถนำความรู้ที่ได้จาก weblog ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้
3. การเรียนการสอนด้วย weblog จะอำนวยความสะดวกสบายให้กับผูเรียนผู้สอน
4. weblog เป็นสื่อที่ทันสมัยทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในอนาคตได้
5. ในการเรียนการสอนแบบนี้ทำให้ผู้เรียนมีความกล้าแสดงออก มีความคิดที่หลากหลาย

จุดด้อย
1. การเรียนการสอนด้วย weblog ควรสอนให้สอดคล้องตามจุดประสงค์ และเนื้อหาวิชา
2. ในการเรียนการสอนด้วย weblog ใช้เวลามากในการกรอกข้อมูลแต่ละครั้ง
3. ในการเรียนการสอนด้วย weblog จะมีปัญหาในการเข้าอินเตอร์เน็ตมากเพราะสัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่มี

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งานกลุ่มที่ 10

http://www.mediafire.com/?ziam5yvmftw
http://www.mediafire.com/?jnrmjt5aj1g

ข้อสอบ

ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน
คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่นวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ ความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไรตอบ ในกรณีที่เกิดความวุ่นวายในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในสมัยนายทักษิณได้เป็นนายกรัฐมนตรี ชึ่งนายทักษิณได้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้ข้อดี คือ ท่านทำให้เศรษฐกิจของไทยดีขึ้นโดยเฉพาะทางด้านเกษตรกร ซึ่งข้าพเจ้าเป็นลูกของเกษตรกรยางพารา ในขณะนั้นยางพาราราคาดีมากทำให้เกษตรกรได้ลืมตาอ้าปาก และนอกจากนี้ท่านยังได้ปลดหนี้ให้กับประเทศไทยด้วย
ข้อเสีย คือ เป็นคนแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าส่วนรวม คิดที่คดโกงประเทศชาติ ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อประเทศ และยังเห็นแก่เงิน
ถ้าข้าพเจ้าเป็นครูพันธ์ใหม่ จะสอนให้ผู้เรียนได้รู้ว่า การเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมในตนเอง และมีความซื่อสัตย์ ไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เมื่อนักเรียนได้เป็นใหญ่ และมีจริยธรรม และคุณธรรมในตนเองได้ ผู้เรียนก็จะได้รับการยกย่องจากผู้อื่นและเป็นผู้นำที่ดีของประเทศได้ แต่คนเราทุกคนก็ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกับนายทักษิณ ดังนั้นเราจึงควรที่จะเลือกในส่วนที่เป็นข้อดีของท่านมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลกับตัวเรามากที่สุด ก็จะสามารถเป็นผู้นำที่ดีและมีประสิทธิภาพได้
ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้สอนต้องมีความรู้ มีประสบการณ์ มีวิธีสอนที่ดี มีความเป็นกันเอง และเข้าใจผู้เรียน สร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนให้เต็มไปด้วยความอบอุ่น มีความเห็นอกเห็นใจผู้เรียน

การเตรียมการเป็นครูที่ดี คือ จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน คอยให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน และควรเตรียมการสอนให้ดีเพื่อที่จะให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่สอน และผู้สอนจะต้องมีความเป็นกันเองกับนักเรียน
ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบ ในการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ ข้าพเจ้าจะนำเอาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ได้เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เช่น
- การนำเอาโปรแกรม GSP ไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในรายวิชาคณิตศาสตร์
- ให้นักเรียนสอบผ่านทาง weblog ซึ่งเป็นนวัตกรรมตัวใหม่ที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนจัดการเรียนการสอน และข้าพเจ้าเชื่อว่า หากข้าพนำเอานวัตกรรมตัวนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ก็จะส่งผลให้นักเรียนเป็นคนที่ทันสมัยหรือก้าวทันเทคโนโลยีและยังส่งผลให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆอย่างแน่นอน

ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
ตอบ ความจำเป็นที่ต้องมีการประกันคุณภาพเพื่อเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ(ผู้เรียนและผู้รับผลกระทบ(ผู้ปกครอง/ชุมชน/สังคม/ประเทศไทย) ที่จะมั่นใจได้ว่าทั้งรูปแบบการบริหารจัดการของสถานศึกษาและวิธีการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาจะมีมาตรฐานและสามารถพัฒนาผู้รับบริการให้มีความรู้ความสามารถ คุ้มค่ากับที่ได้ส่งให้บุตรหลานไปเรียนและส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศชาติต่อไป
ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ ข้อดี
1. อาจารย์เป็นคนที่อัธยาศัยดีต่อนักศึกษา
2. อาจารย์ได้สอนในรูปแบบที่หลากหลาย
3. สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ประโยชน์ได้
4.
เป็นคนตรงต่อเวลา
5. ให้คำปรึกษาทุกเรื่อง

6. อาจารย์ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาสอนนักศึกษา
ข้อเสีย
1. ในบางครั้งอาจารย์สอนเร็วจนเกินไปทำให้นักศึกษาทำไม่ทัน
2. อาจารย์พูดเร็วเกินไป
ข้อเสนอแนะ
อยากให้อาจารย์สอนและอธิบายช้าๆหน่อย

ใบงานที่ 10

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้

ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
จากการสำรวจเอกสารงานวิจัย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. 2531: ค) ได้ค้นพบว่าบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้
1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ
4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนใน
ด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด

บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน
ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริง พรรณี ชูทัย (2522 : 261 – 263)
กล่าวถึงบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน
5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น
บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน

ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน

รูปแบบการจัดชั้นเรียน
การจัดชั้นเรียนจัดได้หลายรูปแบบ โดยจัดให้เหมาะสมกับบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน จำนวนนักเรียน สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ขนาดของห้องเรียน เป็นต้น ครูควรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดโต๊ะ เก้าอี้ มุมวิชาการ และมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้น่าสนใจไม่ซ้ำซากจำเจ ไม่น่าเบื่อหน่าย นักเรียนจะเกิดความกระตือรือร้นและกระฉับกระเฉงในการเรียนดีขึ้น การจัดชั้นเรียนถ้าแบ่งตามวิธีการสอนจะได้ 2 แบบ คือ
1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา
2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม

1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา
ชั้นเรียนแบบธรรมดาเป็นชั้นเรียนที่มีครูเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้นำการเรียนรู้ โดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้จากครู การจัดชั้นเรียนแบบนี้จะมีโต๊ะครูอยู่หน้าชั้นเรียน และมีโต๊ะเรียนวางเรียงกันเป็นแถว โดยหันหน้าเข้าหาครูแสดงดังรูป
รูปแสดง การจัดชั้นเรียนแบบธรรมดา
1.1 ลักษณะการจัดชั้นเรียน การจัดชั้นเรียนแบบธรรมดานี้ โต๊ะเรียนของนักเรียน อาจเป็นโต๊ะเดี่ยวหรือโต๊ะคู่ก็ได้ ผนังห้องเรียนอาจจะมีกระดานป้ายนิเทศ หรือสื่อการสอน เช่น แผนภูมิ รูปภาพ แผนที่ติดไว้ ซึ่งสื่อการสอนเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนบ่อยนัก การตกแต่งผนังห้องเรียนจะแตกต่างกันออกไปตามแต่สถานที่ตั้งของโรงเรียน โรงเรียนที่อยู่ในตัวเมืองอาจจะมีการตกแต่ง มากกว่าโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลออกไปตมชนบท เพราะหาสื่อการสอนได้ยากกว่า บางห้องเรียนอาจจะมีมุมความสนใจ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน
1.2 บทบาทของครูและนักเรียน บทบาทของครูและนักเรียนในชั้นเรียนแบบธรรมดานี้ ครูจะเป็นผู้รอบรู้ในด้านต่างๆ ใช้วิธีการสอนแบบป้อนความรู้ให้แก่นักเรียนโดยการบรรยาย และอธิบายให้นักเรียนฝังอยู่ตลอดเวลา ครูจะเป็นผู้แสดงกิจกรรมต่างๆ เอง แม้กระทั่งการทดลองอย่างง่ายๆ ไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ยิบจับ หรือแตะต้องสื่อการสอนที่ครูนำมาแสดง นักเรียนจึงต้องฟังครู มีมีโอกาสได้พูด หรือทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อค้นหาคำตอบใดๆ สื่อการสอนที่ใช้ส่วนมาก ได้แก่ ชอล์ก กระดานดำ และแบบเรียน
การจัดชั้นเรียนแบบนี้ไม่เอื้อต่อการสอนตามหลักสูตรใหม่ นักการศึกษาจึงไม่แนะนำให้ใช้มากนัก อาจใช้ได้เป็นบางครั้งเท่านั้นถ้าจำเป็นต่อวิธีการสอนวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ไม่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างตลอดไป
2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม
ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม เป็นชั้นเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิควิธีสอนใหม่ๆ เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบโฟร์แมท แบบสตอรี่ไลน์ แบบโครงงาน เป็นต้น ซึ่งนักเรียนจะมีอิสระในการเรียน อาจเรียนเป็นกลุ่ม หรือเป็นรายบุคคล โดยมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา การจัดชั้นเรียนจึงมีรูปแบบการจัดโต๊ะเก้าอี้ในลักษณะต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเรียงแถวหันหน้าเข้าหาครู เช่น จัดเป็นรูปตัวที ตัวยู วงกลม หรือจักเป็นกลุ่ม
รูปแสดงลักษณะการจัดชั้นเรียนแบบนวัตกรรม
2.1 ลักษณะการจัดชั้นเรียน การจัดชั้นเรียนแบบนวัตกรรมนี้ โต๊ะครูไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้น อาจเคลื่อนย้ายไปตามมุมต่างๆ การจัดโต๊ะนักเรียนจะเปลี่ยนรูปแบบไปตามลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ส่วนใหญ่นิยมจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน มีการจัดศูนย์สนใจ มีสื่อการสอนในรูปของชุดการสอน หรือเครื่องช่วยสอนต่างๆ ไว้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง หรือศึกษาร่วมกับเพื่อน มีการตกแต่งผนังห้องและเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเรื่องที่นักเรียนกำลังเรียน
2.2 บทบาทของครูและนักเรียน การจัดชั้นเรียนแบบนี้ครูจะเป็นผู้กำกับและแนะแนวนักเรียนเป็นผู้แสดงบทบาท ครูจะพูดน้อยลง ให้นักเรียนได้คิด ได้ถาม ได้แก้ปัญหา และได้ทำกิจกรรมด้วยตนเอง นักเรียนอาจจะเรียนด้วยตนเองจากสื่อประสม เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม ชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือเมื่อจำเป็น ดังนั้น การจัดชั้นเรียนแบบนี้จึงเป็นการจัดชั้นเรียนที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตรที่ต้องการให้ผู้เรียนได้คิดค้นคว้า วิเคราะห์วิจารณ์ และลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จนสามารถเรียนรู้ได้ตนเอง
กล่าวโดยสรุป ในการจัดชั้นเรียน ผู้สอนสามารถจัดได้ 2 แบบ ทั้งแบบธรรมดาและแบบนวัตกรรม แต่เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร การจัดชั้นเรียนแบบนวัตกรรมจะเป็นแบบที่เหมาะสม เพราะสะดวกแก่การที่ผู้เรียนจะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง สะดวกแก่การทำงานกลุ่มกับเพื่อน สะดวกแก่การทดลองหรือทำกิจกรรมต่างๆ ผู้สอนจึงควรจัดชั้นเรียนแบบนวัตกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน

สรุป
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 9 บุคคลที่ชื่นชอบ


บุคคลที่ชื่นชอบ
ชื่อ อภิรักษ์ โกษะโยธิน
ประวัติ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2504[2] ที่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จึงทำให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดในยุคกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. 2500) นายอภิรักษ์มีชื่อเล่นว่า "ต้อม" เป็นบุตรคนโตของ นายบุญลักษณ์ โกษะโยธิน และ นางอมรา โกษะโยธิน (สกุลเดิม จามรมาน) มีน้องสาว 1 คนคือ อภิสรา โกษะโยธิน (ทำงานที่ ธนาคารนครหลวงไทย)
นายอภิรักษ์เริ่มเข้าเรียนครั้งแรก ที่โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี
มัธยมศึกษาตอนต้น :
โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
มัธยมศึกษาตอนปลาย :
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ปริญญาตรี :
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เมื่อจบปี 1 ผลการเรียนไม่ดีและถูกภาคทัณฑ์ (ติดโปรฯ) จึงต้องออกมาสอบเอ็นทรานซ์ใหม่)
วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2526 (รุ่นเดียวกับ นายยงยุทธ ติยะไพรัช)
ปริญญาโท :
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า (การจัดการการตลาด)

นายอภิรักษ์ สมรสกับ นางปฏิมา โกษะโยธิน (สกุลเดิม พงศ์พฤกษทล) มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือ อนรรฆ โกษะโยธิน (พี)
นายอภิรักษ์มีฉายาจากสื่อมวลชนว่า "หล่อเล็ก" คู่กับ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีฉายาว่า "หล่อใหญ่" และต่อมามีนักการเมืองพรรคเดียวกันได้รับฉายาทำนองนี้อีกเช่น นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคที่ได้รับฉายา "หล่อโย่ง" และ ม.ล.อภิมงคล โสณกุล รองโฆษกพรรคที่มีฉายาว่า "หล่อจิ๋ว"
การทำงาน
นายอภิรักษ์เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจหลายแห่ง ก่อนที่จะเข้าสู่วงการเมือง เริ่มจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนาม พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 การลงคะแนนเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติเป็นเอกฉันท์ ประกาศให้ นายอภิรักษ์ เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2547 หลังได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่อมานายอภิรักษ์ได้รับเลือกตั้งให้เป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548

ขณะออกรายการ ตอบโจทย์ ทางไทยพีบีเอสชี้แจงถึงการยุติการทำหน้าที่ผู้ว่าฯ
ในวันที่
13 มีนาคม พ.ศ. 2551 นายอภิรักษ์ได้ยุติการทำหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชั่วคราว พร้อมกับได้ตั้ง ดร.วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ รักษาการแทน เนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) แจ้งข้อกล่าวหาว่ามีความผิดกรณีซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ทั้ง ๆ ที่เป็นเพียงการแจ้งข้อกล่าวหาเท่านั้น ยังไม่ได้เป็นการชี้มูลความผิดหรือส่งเรื่องขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลแล้ว[3] และในวันที่ 12 เมษายน ปีเดียวกัน ได้กลับมาทำงานอีกครั้งเนื่องจากครบวาระการพักงาน โดยเริ่มงานแรกคือ การสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ที่ท้องสนามหลวง เนื่องในงานเทศกาลสงกรานต์ของกรุงเทพมหานคร
ต่อมาในวันที่
12 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง หลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) มีมติเอกฉันท์ชี้มูลความผิดในคดีนี้ นายอภิรักษ์ได้แถลงข่าวลาออกจากตำแหน่งในเวลา 15.30 น. ทั้ง ๆ ที่กฎหมายมิได้มีผลบังคับให้ต้องทำถึงขนาดนั้น แต่นายอภิรักษ์ระบุว่าต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่การเมืองไทย ทั้งนี้ให้มีผลในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสร็จสิ้น[1]
ปี 2526-2527 : ผู้ช่วยผู้จัดการร้านฝึกหัด (Management Trainee) บริษัท พิซซ่าฮัท ไทยแลนด์ จำกัด[4]
ปี 2528-2530 : Account Executive บริษัท Lintas Worldwide มีลูกค้าหลักคือ
ลีเวอร์ บราเธอร์ส
ปี 2530-2532 : Account Director บุกเบิกก่อตั้ง บริษัท ดามาร์กส์ แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด (Damask Advertising)
ปี 2532-2537 : ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท
เป๊ปซี่-โคล่า อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ จากนั้นขึ้นเป็นผู้อำนวยการขายและการตลาดของเป๊ปซี่ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปี 2537-2543 : กรรมการผู้จัดการ บริษัท
ฟริโต-เลย์ ไทยแลนด์
ปี 2543-2545 : กรรมการผู้จัดการ CEO บริษัท
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
ปี 2545-2547 :
กรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม หรือ Co-CEO บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด (คู่กับ
นายศุภชัย เจียรวนนท์)
ประธานกลุ่มการตลาดและบริหารงานสื่อ กลุ่มบริษัทในเครือเทเลคอมเอเชีย จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือ
ทรู คอร์ปอเรชั่น)
กรรมการ บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
กรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
ปี 2547 : ลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในโทรศัพท์มือถือเครือข่าย
ออเร้นจ์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ทรูมูฟ) เพื่อลงสมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 911,441 เสียง
ปี 2548 : รองหัวหน้า
พรรคประชาธิปัตย์
ปี 2551 :
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่ 2 ด้วยคะแนนเสียง 991,018 คะแนน คิดเป็น 45.93 %
[
แก้] การดำรงตำแหน่งอื่นๆ
อดีตประธานนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ. 2527- พ.ศ. 2528)
อดีตกรรมการศูนย์ฟื้นฟูรักษาสิ่งแวดล้อมในเมือง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2534)
อดีตกรรมการสมาคมศิษย์เก่า คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536)
อดีตกรรมการที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการอำนวยการ การส่งเสริมการประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542)
อดีตประธานกลุ่มบริหารการตลาด และกรรมการอำนวยการ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545)
อดีตกรรมการองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2546)
อาจารย์พิเศษ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
กรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่ปรึกษา สมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์

เกียรติประวัติ
ศิษย์เก่าดีเด่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปี พ.ศ. 2542
ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2543